“เทศกาลมหาสงกรานต์” เป็นอีกหนึ่งประเพณีสำคัญของคนไทยในรอบปี
เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญที่คนไทยจะได้พักผ่อน ท่องเที่ยว
เยี่ยมญาติพี่น้อง
ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขไปกับเทศกาลหนึ่งที่คนไทยตั้งตารอคอยมาตลอดทั้ง
ปี
แต่ในเทศกาลสงกรานต์ทุกครั้ง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นทางคู่ขนานไม่พ้นเรื่อง "อุบัติเหตุ“ ทางถนน ยอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ถูกรายงานผ่านสื่อมวลชนราวกับเป็นสถิติที่ควบคู่เทศกาลนี้โดยไม่มีทางแยกออก กันได้ ถึงแม้หน่วยงานภาครัฐจะระดมสรรพกำลังและมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด แต่สุดท้ายใน ”ปฏิทิน 7 วันอันตราย" ยังมีสถิติอุบัติเหตุในระดับที่สูง และดูเหมือนว่ามาตรการทางกฎหมายที่ถูกบังคับใช้นั้น ยังไม่สามารถ “หยุด” ตัวเลขผู้เสียชีวิตได้เท่าที่ควร
เมื่อย้อน “สถิติ” ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 7 ปีหลัง จากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พบว่า ในสงกรานต์ปี 2551 มีผู้เสียชีวิต 368 ราย สงกรานต์ปี 2552 มีผู้เสียชีวิต 373 ราย สงกรานต์ปี 2553 มีผู้เสียชีวิต 361 ราย สงกรานต์ปี 2554 มีผู้เสียชีวิต 271 ราย สงกรานต์ปี 2555 มีผู้เสียชีวิต 320 ราย สงกรานต์ปี 2556 มีผู้เสียชีวิต 321 ราย และล่าสุดสงกรานต์ปี 2557 มีผู้เสียชีวิต 322 ราย สาเหตุหลักเกิดอุบัติเหตุสูงสุดยังเป็นเรื่อง “เมาสุรา” ร้อยละ 31.9 และขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 23.6 ส่วนยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ “รถจักรยานยนต์” ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางหลวงแผ่นดินร้อยละ 37.9 ถนนในหมู่บ้านร้อยละ 36.7 ทางตรงร้อยละ 64.9 ทางโค้งร้อยละ 19.7
หากรวบรวมสถิติตั้งแต่ปี 2549-2557 พบว่า มีอุบัติเหตุไม่ต่ำกว่า 3,000 ครั้ง ผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 300-400 ราย หรือคิดเฉลี่ยการเสียชีวิต 1 รายในทุกครึ่งชั่วโมง รวมผู้เสียชีวิตทั้งหมด 9 ปี จำนวน 2,860 ราย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ “น่ากลัว” ไม่น้อย
ในปีนี้ ศปถ.ได้กำหนดวันที่ 9-15 เมษายน เป็นช่วงลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างเข้มข้นทั่วประเทศ โดยวางมาตรการควบคุมตั้งแต่ช่วงต้นของการเดินทาง ให้เน้นหนักจุดตรวจ จุดสกัดบนถนนสายหลัก เพื่อ “เฝ้าระวัง”การใช้ความเร็ว ส่วนช่วงกลางวันหยุดสงกรานต์ให้เข้มงวดถนนสายรอง ชุมชน หมู่บ้าน และจุดเล่นน้ำสงกรานต์เป็นพิเศษ เพื่อควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุ ทั้งการดื่มแล้วขับและเล่นน้ำคึกคะนอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน
ส่วนในพื้นที่เมืองหลวง “กทม.” ได้เตรียมแผนปฏิบัติไว้ 2 ช่วง 1.ช่วง “รณรงค์” จะประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออย่างเข้มข้นให้ประชาชนรับทราบมาตรการป้องกัน 2.ช่วง “ควบคุมเข้มข้น” วันที่ 11-17 เมษายน จะตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน บนเส้นทางถนนสายหลัก สายรองในกรุงเทพฯ โดยระดมเจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยงานร่วมปฏิบัติงาน 24 ชั่วโมง โดยให้เน้นเรื่อง “เมาไม่ขับ” มากที่สุด
เมื่อเจาะลึกสถิติส่วนใหญ่พบว่า “เมาแล้วขับ” ยังเป็นสาเหตุหลักที่ออกมาขวางตัวเลขผู้เสียชีวิตไม่เคยลดลง โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์ ยังเป็นยานพาหนะที่นำไปสู่การเสียชีวิตในระดับต้นๆ โดยจะเห็นได้อย่างชินตาว่า กลุ่ม “เด็กแว้น” จะรวมตัวไม่สวมหมวกกันน็อกเพื่อซิ่งอย่างคึกคะนอง ปิดถนนเพื่อท้าทายความเร็ว หรือขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดง หรือตั้งใจ “เมาแล้วขับ” บนถนนโดยไม่กลัวกฎหมาย ขณะเดียวกันยังเห็นเจ้าหน้าที่ “บางส่วน” ปล่อยให้มีการทำผิดจากกลุ่มวัยรุ่นบนถนน ทำให้ที่ผ่านมาสังคมตั้งคำถามอย่างเสียงดังว่า เทศกาลสงกรานต์แต่ละปีเป็นช่วงเว้นวรรคการใช้กฎหมายจราจรด้วยหรือไม่
"สุรสิทธิ์ ศิลปงาม" ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ เคยระบุว่า สถิติผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วันอันตรายสงกรานต์ปี 2557 ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะหากมาตรการที่ทำกันมาตั้งแต่ปี 2546 ยังเหมือนเดิม ผลลัพธ์จึงออกมาเช่นนี้ ในสงกรานต์ปี 2558 ตัวเลขผู้เสียชีวิตน่าจะอยู่ในระดับ 300 บวกลบไม่เกิน 5-10 เปอร์เซ็นต์ จึงคิดว่า ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ประเทศไทยจะเลิกเกรงใจนายทุนเหล้าเบียร์ และหันมาปกป้องชีวิตผู้บริสุทธิ์บนท้องถนนอย่างจริงจัง เพราะสาเหตุหลักของผู้เสียชีวิตในช่วงสงกรานต์เกิดจากการเมาแล้วขับ จึงต้องมาแก้ที่ต้นเหตุในการควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง มูลนิธิเมาไม่ขับจึงเสนอให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวัน “งดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” เพื่อลดการเข้าถึงและตัดตอนวงจรเมาแล้วขับ
“ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตติดอันดับ 3 ของโลกจากอุบัติเหตุจราจร ขณะที่ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เติบโตขึ้นสวนทางรอยเลือดและคราบน้ำตาของคน ไทย แต่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนยังมัวแต่เกรงใจนายทุนเหล้าเบียร์ ปล่อยให้แสวงหาผลประโยชน์บนความหายนะของคนไทย ภาพเด็กเยาวชนไทยตายจากการเมาแล้วขับบนท้องถนนในเทศกาลสงกรานต์ น่าจะเป็นข้อเตือนสติผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องคุมการขายเหล้าเบียร์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์อย่างเข้มข้น” ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ ระบุ
“ไกร ตั้งสง่า” ประธานคณะกรรมการสวัสดิการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) เห็นว่า การรณรงค์ 7 วันอันตรายในช่วงสงกรานต์เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ จึงอยากเสนอให้เปลี่ยนแนวทางการรณรงค์ เป็น “365 วันอันตราย” เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงแนวทางลดปัญหาอุบัติเหตุอย่างยั่งยืน โดยภาครัฐควรเพิ่มความเข้มงวดในการขอใบอนุญาตขับขี่ พัฒนาการออกแบบถนนเพื่อลดอุบัติเหตุ หรือการดูแลไฟส่องสว่างตามถนนจุดต่างๆ ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา รวมทั้งเสนอให้จัดตั้ง “คณะกรรมการความปลอดภัยทางคมนาคมแห่งชาติ” เพื่อวางแผนแก้ไข และป้องกันอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเสนอเป็น “วาระแห่งชาติ” ให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค และส่งเสริมการสร้างวินัยจราจรตั้งแต่เด็กจนโตอย่างต่อเนื่อง
ทั้งหมดจึงเป็นเสียงสะท้อนจากภาคสังคมต่อมาตรการลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วง สงกรานต์ ที่ต้องมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้มาตรการเป็นเพียงแค่ “ตัวประกอบ” ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขของคนไทยเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะมีโรดแม็พที่เข้มข้นมากแค่ไหน หาก “สำนึก” แห่งการรณรงค์ยังไม่เกิดขึ้นจากภาครัฐ เอกชน และพลเมือง “ตัวเลขแห่งความตาย” ในปฏิทิน 7 วันอันตราย จะยังไม่มีวันลดลงไปจากนี้แน่นอน
Source : http://www.komchadluek.net/detail/20150411/204520.html
แต่ในเทศกาลสงกรานต์ทุกครั้ง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นทางคู่ขนานไม่พ้นเรื่อง "อุบัติเหตุ“ ทางถนน ยอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ถูกรายงานผ่านสื่อมวลชนราวกับเป็นสถิติที่ควบคู่เทศกาลนี้โดยไม่มีทางแยกออก กันได้ ถึงแม้หน่วยงานภาครัฐจะระดมสรรพกำลังและมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด แต่สุดท้ายใน ”ปฏิทิน 7 วันอันตราย" ยังมีสถิติอุบัติเหตุในระดับที่สูง และดูเหมือนว่ามาตรการทางกฎหมายที่ถูกบังคับใช้นั้น ยังไม่สามารถ “หยุด” ตัวเลขผู้เสียชีวิตได้เท่าที่ควร
เมื่อย้อน “สถิติ” ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 7 ปีหลัง จากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พบว่า ในสงกรานต์ปี 2551 มีผู้เสียชีวิต 368 ราย สงกรานต์ปี 2552 มีผู้เสียชีวิต 373 ราย สงกรานต์ปี 2553 มีผู้เสียชีวิต 361 ราย สงกรานต์ปี 2554 มีผู้เสียชีวิต 271 ราย สงกรานต์ปี 2555 มีผู้เสียชีวิต 320 ราย สงกรานต์ปี 2556 มีผู้เสียชีวิต 321 ราย และล่าสุดสงกรานต์ปี 2557 มีผู้เสียชีวิต 322 ราย สาเหตุหลักเกิดอุบัติเหตุสูงสุดยังเป็นเรื่อง “เมาสุรา” ร้อยละ 31.9 และขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 23.6 ส่วนยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ “รถจักรยานยนต์” ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางหลวงแผ่นดินร้อยละ 37.9 ถนนในหมู่บ้านร้อยละ 36.7 ทางตรงร้อยละ 64.9 ทางโค้งร้อยละ 19.7
หากรวบรวมสถิติตั้งแต่ปี 2549-2557 พบว่า มีอุบัติเหตุไม่ต่ำกว่า 3,000 ครั้ง ผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 300-400 ราย หรือคิดเฉลี่ยการเสียชีวิต 1 รายในทุกครึ่งชั่วโมง รวมผู้เสียชีวิตทั้งหมด 9 ปี จำนวน 2,860 ราย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ “น่ากลัว” ไม่น้อย
ในปีนี้ ศปถ.ได้กำหนดวันที่ 9-15 เมษายน เป็นช่วงลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างเข้มข้นทั่วประเทศ โดยวางมาตรการควบคุมตั้งแต่ช่วงต้นของการเดินทาง ให้เน้นหนักจุดตรวจ จุดสกัดบนถนนสายหลัก เพื่อ “เฝ้าระวัง”การใช้ความเร็ว ส่วนช่วงกลางวันหยุดสงกรานต์ให้เข้มงวดถนนสายรอง ชุมชน หมู่บ้าน และจุดเล่นน้ำสงกรานต์เป็นพิเศษ เพื่อควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุ ทั้งการดื่มแล้วขับและเล่นน้ำคึกคะนอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน
ส่วนในพื้นที่เมืองหลวง “กทม.” ได้เตรียมแผนปฏิบัติไว้ 2 ช่วง 1.ช่วง “รณรงค์” จะประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออย่างเข้มข้นให้ประชาชนรับทราบมาตรการป้องกัน 2.ช่วง “ควบคุมเข้มข้น” วันที่ 11-17 เมษายน จะตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน บนเส้นทางถนนสายหลัก สายรองในกรุงเทพฯ โดยระดมเจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยงานร่วมปฏิบัติงาน 24 ชั่วโมง โดยให้เน้นเรื่อง “เมาไม่ขับ” มากที่สุด
เมื่อเจาะลึกสถิติส่วนใหญ่พบว่า “เมาแล้วขับ” ยังเป็นสาเหตุหลักที่ออกมาขวางตัวเลขผู้เสียชีวิตไม่เคยลดลง โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์ ยังเป็นยานพาหนะที่นำไปสู่การเสียชีวิตในระดับต้นๆ โดยจะเห็นได้อย่างชินตาว่า กลุ่ม “เด็กแว้น” จะรวมตัวไม่สวมหมวกกันน็อกเพื่อซิ่งอย่างคึกคะนอง ปิดถนนเพื่อท้าทายความเร็ว หรือขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดง หรือตั้งใจ “เมาแล้วขับ” บนถนนโดยไม่กลัวกฎหมาย ขณะเดียวกันยังเห็นเจ้าหน้าที่ “บางส่วน” ปล่อยให้มีการทำผิดจากกลุ่มวัยรุ่นบนถนน ทำให้ที่ผ่านมาสังคมตั้งคำถามอย่างเสียงดังว่า เทศกาลสงกรานต์แต่ละปีเป็นช่วงเว้นวรรคการใช้กฎหมายจราจรด้วยหรือไม่
"สุรสิทธิ์ ศิลปงาม" ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ เคยระบุว่า สถิติผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วันอันตรายสงกรานต์ปี 2557 ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะหากมาตรการที่ทำกันมาตั้งแต่ปี 2546 ยังเหมือนเดิม ผลลัพธ์จึงออกมาเช่นนี้ ในสงกรานต์ปี 2558 ตัวเลขผู้เสียชีวิตน่าจะอยู่ในระดับ 300 บวกลบไม่เกิน 5-10 เปอร์เซ็นต์ จึงคิดว่า ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ประเทศไทยจะเลิกเกรงใจนายทุนเหล้าเบียร์ และหันมาปกป้องชีวิตผู้บริสุทธิ์บนท้องถนนอย่างจริงจัง เพราะสาเหตุหลักของผู้เสียชีวิตในช่วงสงกรานต์เกิดจากการเมาแล้วขับ จึงต้องมาแก้ที่ต้นเหตุในการควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง มูลนิธิเมาไม่ขับจึงเสนอให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวัน “งดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” เพื่อลดการเข้าถึงและตัดตอนวงจรเมาแล้วขับ
“ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตติดอันดับ 3 ของโลกจากอุบัติเหตุจราจร ขณะที่ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เติบโตขึ้นสวนทางรอยเลือดและคราบน้ำตาของคน ไทย แต่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนยังมัวแต่เกรงใจนายทุนเหล้าเบียร์ ปล่อยให้แสวงหาผลประโยชน์บนความหายนะของคนไทย ภาพเด็กเยาวชนไทยตายจากการเมาแล้วขับบนท้องถนนในเทศกาลสงกรานต์ น่าจะเป็นข้อเตือนสติผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องคุมการขายเหล้าเบียร์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์อย่างเข้มข้น” ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ ระบุ
“ไกร ตั้งสง่า” ประธานคณะกรรมการสวัสดิการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) เห็นว่า การรณรงค์ 7 วันอันตรายในช่วงสงกรานต์เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ จึงอยากเสนอให้เปลี่ยนแนวทางการรณรงค์ เป็น “365 วันอันตราย” เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงแนวทางลดปัญหาอุบัติเหตุอย่างยั่งยืน โดยภาครัฐควรเพิ่มความเข้มงวดในการขอใบอนุญาตขับขี่ พัฒนาการออกแบบถนนเพื่อลดอุบัติเหตุ หรือการดูแลไฟส่องสว่างตามถนนจุดต่างๆ ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา รวมทั้งเสนอให้จัดตั้ง “คณะกรรมการความปลอดภัยทางคมนาคมแห่งชาติ” เพื่อวางแผนแก้ไข และป้องกันอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเสนอเป็น “วาระแห่งชาติ” ให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค และส่งเสริมการสร้างวินัยจราจรตั้งแต่เด็กจนโตอย่างต่อเนื่อง
ทั้งหมดจึงเป็นเสียงสะท้อนจากภาคสังคมต่อมาตรการลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วง สงกรานต์ ที่ต้องมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้มาตรการเป็นเพียงแค่ “ตัวประกอบ” ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขของคนไทยเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะมีโรดแม็พที่เข้มข้นมากแค่ไหน หาก “สำนึก” แห่งการรณรงค์ยังไม่เกิดขึ้นจากภาครัฐ เอกชน และพลเมือง “ตัวเลขแห่งความตาย” ในปฏิทิน 7 วันอันตราย จะยังไม่มีวันลดลงไปจากนี้แน่นอน
Source : http://www.komchadluek.net/detail/20150411/204520.html
0 comments:
Post a Comment